วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ข้อสอบนวัตกรรมและสารสนเทศข้อ 3

3.ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย ( กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิด
เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ) เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรม ในสังคมจากการใช้คอม-
พิวเตอร์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด จงอภิปราย ถึงประเด็นที่
เกี่ยวข้องให้เป็นรูปธรรม
ตอบ เห็นด้วยกับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย(กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอม-
พิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ) เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย
อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด เพราะเราจะพบว่า ในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารผ่าน
ระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้เข้ามามีบทบาท และทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นตามลำดับ
ต่อระบบเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศไทย แต่ในขณะเดียวกันการกระทำความ
ผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ก็มีแนวโน้มขยายวงกว้างและทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นด้วย โดยขอสรุป
ประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบับนี้เป็นด้าน ๆ ดังนี้
1. ความผิดสำหรับแฮกเกอร์ สรุปได้ดังนี้
1.1 ) เข้าเว็บสาธารณะย่อมไม่มีความผิด แต่ผู้ที่เจาะระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่สร้างระบบ
ป้องกันไว้มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท แต่ถ้าเจาะเข้าไปถึงข้อมูลที่เก็บ
รักษาไว้ด้วยโทษจะเพิ่มเป็น 2 เท่า
1.2) ผู้ที่เผยรหัส ( password ) ที่ตัวเองรู้มาสำหรับเพื่อใช้เข้าระบบคอมพิวเตอร์มีโทษ
จำคุก 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
1.3 ) ผู้ที่ดักจับข้อมูลที่เป็นส่วนตัวซึ่งส่งถึงกันทางอินเทอร์เน็ต ทาง e-mail มีโทษจำคุก
ไม่เกิน 3 ปีปรับไม่เกิน 60,000 บาท
2. ความผิดสำหรับผู้ที่ปล่อยไวรัส
2.1) ผู้ที่ทำลายข้อมูลหรือไปเปลี่ยนข้อมูลของผู้อื่นไม่ว่าด้วยวิธีการใดจะใช้ ไวรัสหรือแอบ
เข้าไปทำลายมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
2.2) การทำลายข้อมูลผู้อื่น ทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ประเภทคอมพิวเตอร์ควบคุม
จราจรโทษสูงขึ้นเป็น จำคุก 10 ปี ปรับ 200,000 บาท ถ้ากระทบถึงความมั่นคงประเทศ
โทษจะสูงขึ้นเป็นจำคุก 3 – 15 ปี ถ้าจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โทษจะหนักถึงจำคุก
10 – 20 ปี
3. ความผิดของผู้ที่ก่อกวนหรือแกล้งผู้อื่น
3.1) ผู้ที่ส่งอีเมล์ก่อกวนหรือโฆษราขายสินค้าหรือขายบริการ ประเภทไปโผล่ pop up
หรือผู้ที่ส่งเมล์ขยะโดยที่ผู้รับไม่ต้องการมีโทษปรับอย่างเดียว ไม่เกิน 100,000 บาท โทษฐาน
ก่อความรำคาญ
3.2) ผู้ที่ส่งเมล์เป็นข้อมูลปลอม ข้อมูลเท็จ ใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่น เป็นข่าวลือปล่อยข่าวให้เกิดความ
วุ่นวาย รวมถึงส่งภาพลามกอนาจารทั้งหลายทั้งหลาย รวมถึง ผู้ที่ได้รับแล้ว ส่งต่อด้วย มีโทษ เท่ากัน
คือจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
3.3) ผู้ที่ตัดต่อภาพของผู้อื่นแล้วนำเข้าเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต ทำให้เจ้าของภาพเสียหาย
อับอาย ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 600,000 บาท
4. ความผิดของผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการมีหน้าที่ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้บริการอย่างน้อย
90 วัน เพื่อให้สามารถหาตัวผู้ใช้บริการสำหรับให้ตรวจสอบได้ มิฉะนั้น ผู้ให้บริการจะต้องรับโทษ
ปรับไม่เกิน 500,000 บาท การกระทำความผิดตามกฎหมายนี้ แม้จะกระทำในรอบราชอาณ
จักรไม่ว่าคนไทยหรือคนต่างด้าว ถ้าเกิดควาเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นในประเทศหรือต่างประเทศก็ต้อง
รับโทษตามกฎหมายนี้ แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือ การกระทำความผิดในระบบคอมพิวเตอร์ทางอินเตอร์
เน็ตนี้จะจับได้อย่างไรในทางปฏิบัติ กฎหมายให้อำนาจเรียกข้อมูลจากผู้ให้บริการหรือเจ้าของเว็บ
ทั้งหลาย รวมทั้ง มีอำนาจที่จะเข้าไปติดตาม ตรวจสอบ คัดเลือก ในระบบคอมพิวเตอร์ของใครก็ได้
ถ้ามีเหตุ อันควรเชื่อถือได้ว่ามีการกระทำความผิด แต่การใช้อำนาจเจาะเข้า ไปในระบบคอมพิวเตอร์
ของผู้อื่นตามกฎหมายฉบับนี้นั้น จะต้องขออนุญาตต่อศาลเสียก่อนจะกระทำโดยพละการ ไม่ได้
หากเจ้าหน้าที่เปิดเผยข้อมูลที่ใช้อำนาจที่ไปเจาะข้อมูลมาโดย ไม่มีอำนาจ เจ้าหน้าที่มีความผิดด้วย
โดยต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาทและแม้ ไม่ได้ตั้งใจจะเปิดเผยแต่
ด้วยความประมาททำให้ข้อมูลหลุดเข้าระบบ อินเทอร์เน็ตก็ต้องรับโทษ จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน
20,000 บาท กฎหมายว่า ด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เป็น
กฎหมายที่ดีมีประโยชน์ เพราะทำให้ประเทศไทยได้ชื่อเสียงว่ามีกฎหมายด้านกระทำความผิดเกี่ยวกับ
คอมพิวเตอร์ เช่นเดียวกับอารยประเทศทั้งหลายช่วยป้องปรามให้เกิดกระทำความผิดเกี่ยวกับคอม-
พิวเตอร์น้อยลงและช่วยให้สามารถดำเนินการตามกฎหมายได้รวดเร็ว เป็นต้น อย่างไร ก็ตามเช่น
เดียวกับกฎหมายฉบับอื่น ๆก็ต้องมีการปรับปรุง แก้ไขเป็นระยะ ๆ อาทิ ควรมี ข้อยกเว้นให้ส่ง
เบาะแสการกระทำความผิดให้เจ้าหน้าที่ที่ผ่านอินเทอร์เน็ต ควรออก กฎหมายใหม่เกี่ยวกับคอม-
พิวเตอร์ ให้ครบถ้วนยิ่งขึ้นและควรปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่ ให้ครอบคลุม มากขึ้น เพื่อประโยชน์
ของทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้อง
******************************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น