วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ข้อสอบนวัตกรรมและสารสนเทศข้อ 2

ข้อ 2 . ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการจัดทำแผนแม่บทด้าน ไอซีที ( I C T ) ฉบับที่ 2 ของ
รัฐบาล ไทยจงสังเคราะห์ความรู้จากแผนแม่บทมาเป็น คำอรรถาธิบายให้แจ้งชัด
ตอบ ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับกาจัดทำแผนแม่บทด้านไอซีที ( I C T ) ฉบับที่ 2 ของรัฐบาลไทย
จากการสังเคราะห์ความรู้จากแผนแม่บทว่าด้วย 6 ยุทธศาสตร์ แยกรายละเอียดของแต่ละ
ยุทธศาสตร์ ดังนี้
- ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนากำลังคนด้าน ICTและบุคคลทั่วไปให้มีความสามารถ ในการ
สร้างสรรค์ ผลิต และใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทันมีสาระสำคัญ เพื่อเร่งพัฒนากำลัง
คนที่มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอที่จะรองรับการพัฒนาประเทศสู่สังคม ฐานความรู้และนวัตกรรม
ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและสังคมโดยรวม โดยมีมาตรการที่ สำคัญแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1. การพัฒนาบุคลากรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ( ICT Pro- fessional )
1.1 ) พัฒนาผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาให้มีทักษะ และคุณภาพตรง
กับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
1.2 ) พัฒนาบุคลากร ICT ที่ปฏิบัติงานในภาคอุตสาหกรรมอยู่ในปัจจุบัน ( ICT -
Workforce )
2. การพัฒนาบุคลกรในสาขาวิชาชีพอื่น ๆ และบุคคลทั่วไปประกอบด้วย
2.1) ส่งเสริมให้มีการนำ ICT มาใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนในการศึกษาในระบบ
ทุกระดับชั้นมากขึ้น แต่มุ่งเน้นที่การศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นสำคัญ โดย พัฒนาทักษะด้าน ICT ให้แก่
ครู ควบคู่ไปกับการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนที่ เน้นการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์
แก้ปัญหาโดยใช้ ICT
2.2) พัฒนาการเรียนรู้ ICT เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยจัด ให้มีแหล่งเรียนรู้ ICT
ของชุมชนที่มีสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่หลากหลาย
2.3 ) พัฒนาการเรียนรู้ ICT แก่แรงงานในสถานประกอบการ เพื่อให้ สามารถใช้ประโยชน์จาก
ICT ในการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการ ทำงานรวมถึงส่งเสริมการพัฒนาระบบ
E Learning สำหรับการเรียน ICT
2.4 ) พัฒนาการเรียน ICT แก่ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการและผู้สูงอายุรวม ถึงการทำวิจัยและพัฒนา
เทคโนโลยีสำหรับผู้พิการและการฝึกอบรมความรู้ด้าน ICT แก่ผู้สูงอายุ
2.5 ) พัฒนาความรู้และทักษะด้าน ICT แก่บุคคลภาครัฐรวมถึงการจัด ตั้งสถาบันพัฒนาความ
รู้ความสามารถด้าน ICT ให้แก่บุคคลภาครัฐทั้งนี้ให้มีแรงจูงใจ ค่อตอบแทนและโอกาสความก้าวหน้า
ในการทำงานที่เหมาะสม
3. มาตรการสนับสนุนอื่น ๆ เพื่อเสริมสร้างการพัฒนา “ คน ” ในวงกว้าง เช่นการพัฒนาระบบฐาน
ข้อมูลกำลังคนด้าน ICT ของประเทศเพื่อประกอบการวาง แผนการพัฒนากำลังคน ส่งเสริมสมาคม
ชมรม เครือข่ายส่งเสริมการใช้ ICT อย่าง สร้างสรรค์ เป็นต้น
- ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การบริหารจัดการระบบ ICT ระดับชาติอย่างมีธรรมาภิบาล
( National ICT Governance ) โดยเน้นความเป็นเอกภาพ การใช้ทรัพยากร อย่าง
คุ้มค่าและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องโดยมีมาตรการ 4 กลุ่ม ประกอบด้วย
1. ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารและการจัดการ ICT ระดับชาติ
2. ปรับปรุงกระบวนการจัดทำ เสนองบประมาณและกระบวนการพิจารณา จัดสรร งบประมาณ
ด้าน ICT ของรัฐ
3. พัฒนาหรือปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องรวมถึงกลไกการบังคับใช้กฎหมายเพื่อให้
เอื้อต่อการใช้ ICT และการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
4. ปรับปรุงระบบรากฐานข้อมูลตัวชี้วัดสถานภาพการพัฒนา ICT ของประเทศ
- ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ มุ่งเน้นการลดปัญหา
ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเพื่อทำให้สังคมมีความ สงบสุขและประชาชนมีคุณภาพชีวิต
ที่ดีขึ้นโดยมีมาตรการที่สำคัญ 4 กลุ่ม ประกอบด้วย
1. ขยายประเภทบริการ เพิ่มพื้นที่ให้บริการและปรับปรุงประสิทธิภาพของเครือข่าย โทรคมนาคม
2. เร่งรัดการสร้างความมั่นคงของระบบสารสนเทศ ( Information Security )
3. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ICT เพื่อยกระดับการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน
4. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สารสนเทศสำหรับบริการภาคสังคมที่สำคัญ
5. เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดเครือข่ายและทรัพยากร
- ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการ สร้างธรรมา-
ภิบาลในการบริหารและการบริการของภาครัฐ (e - Governance) มี มาตรการสำคัญประกอบ
ด้วย
1. สร้างความเข้มแข็งของหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบการกำหนดกรอบแนวทางปฏิบัติและมาตร-
ฐานที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐบาลแบบบูรณาการ
- ยุทธศาสตร์ที่ 5 : ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาห กรรม I C T สร้างมูล
ค่าทางเศรษฐกิจและรายได้เข้าประเทศ
- มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ I C T ไทยโดย
มุ่งเน้นการสร้างงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมภายในประเทศทั้งจากหน่วย งานภาครัฐภาคการศึกษา
และภาคเอกชนมาตรการสำคัญของยุทธศาสตร์นี้ประกอบด้วย
1. การสนับสนุนด้านเงินทุน เงินช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบ การรายใหม่
2. การยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการ I C T ไทยสู่ระดับสากล
3. การสร้างโอกาสทางการตลาดและโอกาสในการแข่งขันสำหรับผู้ประกอบ การไทย
4. การส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมI CTทั้งภายในประเทศและจาก ต่างประเทศ
- ยุทธศาสตร์ที่ 6 : การใช้ I C T เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขันอย่าง
ยั่งยืน
- มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมภาคการผลิตของประเทศไทยให้เข้าถึงและสามารถ ใช้ประโยชน์
จาก I C T เพื่อก้าวไปสู่การผลิตและการค้ากับการบริการมีมาตรการ ที่สำคัญ ประกอบด้วย
1. สร้างความตระหนักและพัฒนาขีดความสามารถด้าน I C T ของผู้ประกอบการ
2. เสริมสร้างความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
3. ส่งเสริมการนำ ICTมาใช้ในภาคการผลิตและบริการที่เป็นยุทธศาสตร์ของประเทศ
4. ยกระดับศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ( s M E s )
และวิสาหกิจชุมชน
5. ส่งเสริมการนำ I C T มาใช้ในมาตรการการประหยัดพลังงาน เพื่อลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มขีด
ความสามารถในการแข่งขันทั้งในระดับองค์กรและประเทศอย่างยั่งยืน
..........................................................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น